สถิติ
เปิดเว็บ | 12/09/2011 |
อัพเดท | 16/12/2019 |
ผู้เข้าชม | 342,075 |
เปิดเพจ | 586,654 |
สินค้าทั้งหมด | 30 |
บริการ
ลิ้งก์ตัวอักษร
สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ 2411( Pim Yai Somdej Watrakhang)
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
801
-
เข้าชม
40,927 ครั้ง
รุ่น
Popular Mold Somdej Rakhang Temple.,The Magical Amulets.
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
27/10/2019 03:55
-
รายละเอียดสินค้า
สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ 2411(Somdej Rakhang Temple by Somdej Buddhajarn Toh,
B.E. 2410-2415) พระสมเด็จวัดระฆังองค์นี้ หากพิจรณาดูแล้วจะเห็นว่ามีความอ่อนช้อยและปราณีตในการแกะพิมพ์บอกให้รู้ถึงพระสมเด็จแห่งยุคปลาย ซุ้มผ่าหวายเท่ากันตลอด อย่างลงตัวพื้นผิวภายในเป็นนูนต่ำกว่าภายนอกมองแบบสามมิติ เนื้อแกร่งมวลสารลอยเด่นชัดหากมองใกล้ๆ ทารักษาผิวด้วยยางไม้ และปิดทับด้วยรักดำ ผ่านกาลเวลาร้อยกว่าปี ทำให้คราบยางไม้และรักดำแตกลายผสมผสานกันอย่างลงตัว ไหล่ซ้ายยกเล็กน้อย ฐานล่างยุบเล็กน้อย หากสังเกตดีๆ ถ้ามองเข้าไป ที่องค์พร ที่ไหล่ ซ้ายขององค์พระ ห่างออกไปเล็กน้อยมีวงกลมอยู่หนึ่งวง ภายในวงกลม มีเลขไทย ดูเป็นเลข ๔ ไทย คาดว่าน่าจะสร้าง ในปีพศ. 2411 ซึ่งเป็นปีที่รัชกาลที่ 4 สวรรคต และอาจทำเพื่อถวายแด่องท่านโดยเฉพาะ หากสังเกตที่ข้างพระกรรณ ขวา จะมีรูปนูนเป็นหน้าเทวดา และที่พระกรรณซ้าย มีรูปสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง กำลังก้าวเท้าสู่เบื้องบน สื่อความหมายว่า น้ำพาไปสู่สรวงสวรรค์ เส้นวาสนาที่ชัดเจน และสมดุลแสดงถึงความบรรจงเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นพระองค์หนึ่งที่มีคุณค่าสูงและหาดูได้ยาก มาก หรืออาจจะไม่มี
พระราชประวัติ โดยสังเขป รัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน ยังเป็นโทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และทรงมีพระราชโอรส - พระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา วัดประจำรัชกาล คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ความรู้เกี่ยวกับการสร้างพระสมเด็จ ปี ๒๔๑๑
วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายบรรพชิต มีกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ (กรมพระปวเรศน์วริยาลงกรณ์ในกาลต่อมา) ฝ่ายฆราวาสมีกรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นประธน และขุนนางระดับสูงมีเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ เป็นประธาน ได้จัดประชุมกันในพระราชวังสวนดุสิต ในพระบรมมหาราชวัง ได้ตกลงยกเจ้าฟ้าจุลาลงกรณ์ กรมขุนพิชิตประชานารถ ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ถวายพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”และจะจัดพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑โดยยกเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ สำเร็จราชการไปจนกว่าพระมหากษัตริย์จะมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาขณะเดียวกันก็เลือกผู้ที่จะเป็นเจ้า กรมวังหน้า ที่ประชุมตกลงยกพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ (พระโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒ ของรัชกาลที่ ๔) ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล ตั้งแต่วันนั้นในงานนี้พระยาเทพประชุน (ท้วม บุนนาค) ปลัดทูลฉลองกรมกลาโหม (เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี เจ้ากรมท่า ว่าที่การคลังกับการต่างประเทศในสมัยต่อมา) ซึ่งเป็นน้องชายของเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ ได้ขอพระบรมราชานุญาติสร้างพระพิมพ์ขึ้นจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ โดยใช้พิมพ์สมเด็จวัดระฆัง ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นแม่แบบ เพื่อเป็นศิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติ รัชกาลที่ ๕ เพื่อแจกจ่ายแก่เจ้านายและประชาชน ที่เหลือจะได้บรรจุลงกรุในพระเจดีย์วัดพระแก้วมรกตการสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำพิมพ์ของวัดระฆังมาส่วนหนึ่ง และทำเพิ่มขึ้นอีกมากมายเพื่อเร่งให้ได้พระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ทันวันงาน พวกช่างวังหน้า วังหลัง วังหลวง อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงนฤมลวิจิตร เป็นหัวหน้า จึงช่วยกันทำแม่พิมพ์พระขึ้นมากมาย ซึ่งผู้เขียนยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามีกี่พิมพ์ เพราะหาได้ไม่ครบ พิมพ์พระเหล่านี้ส่วนมากคล้ายพิมพ์ทรงนิยมของวัดระฆัง เช่นพิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เศียรบาตร พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์อกร่องหูยาน พิมพ์โบราณเช่น พระรอดลำพูน พระลีลาเม็ดขนุน พระซุ้มกอ พระนางพญา พระผงสุพรรณ พระปิดตา พระสังกัจจายน์ เป็นต้นผงวิเศษนั้นได้จากหลวงปู่โต ปูนนั้นใช้ปูนกังไสจากประเทศจีน ซึ่งเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี และกรมหมื่นวิไชยชาญเคยไปประเทศจีนแล้วนำมาพร้อมกับสีต่าง ๆ เพื่อสร้างเครื่องกังไสลายคราม โดยพระองค์สร้างเตาสังคโลกขึ้นในวังหน้า ดังนั้น การสร้างพระคราวนี้จึงมีการคิดใหม่ทำใหม่ นอกจากมีพิมพ์ใหม่เกิดขึ้นมากมายแล้ว ได้ทำเป็นพระหลากสี ซึ่งเรียกกันเดี๋ยวนี้ว่า”พระเบญจรงค์บ้าง พระปัญจศิริบ้าง พระสายรุ้งบ้างส่วนผสมอื่น ๆ ก็คงใช้แบบที่หลวงปู่โตท่านเคยสร้างพระสมเด็จ แต่มีวิธีทำที่ดีกว่าคือแทนที่จะใส่ครกตำ กลับใช้เครื่องรางบดยาสมุนไพรที่เป็นร่องแล้วใช้ลูกกลิ้งจานเหล็ก โยกกลับไปกลับมา จึงได้ผงที่ละเอียดมาก จากนั้นจึงนำมาผสมน้ำ และผสมสีลงไป ช่างแต่ละคนก็ผสมสีของตนเอง ดังนั้นพระแต่ละองค์จึงมีสีที่แตกต่าง ก่อนจะอัดมวลสารต่าง ๆ ลงไปก็หยิบผงตะไบทองที่เจ้าของร้านทองแถวสำเพ็งนำมาถวาย โปรยลงไปในแม่พิมพ์เล็กน้อย อัดเสร็จก็หยิบผงตะไบทองโรยทับหลังอีกนิดก็อัดอีกที จึงแกะพระจากพิมพ์วางเรียงไว้ เสร็จแล้วก็นำไปตากแดด ถ้าแดดดี พระแห้งเร็ว ก็จะเกิดรอยแตกลายงาขึ้น มากบ้างน้อยบ้าง ถ้าพระผึ่งไว้ในร่มจนแห้ง การแตกลายงาก็ไม่ปรากฏ องค์พระจะดูสวยงาม พระบางองค์ไม่มีผงตะไบทองก็เพราะผงตะไบมีจำนวนจำกัดไม่ครบจำนวนช่างพระส่วนมากหลังเรียบ แต่บางองค์ก็มีประทับตราหลังคือตราครุฑบ้าง ธรรมจักรบ้าง ตราธงชาติ ตราเสมา ดอกบัว พระเกี้ยว จปร.เป็นต้น พระอีกส่วนหนึ่งไม่ได้ผสมหลายสี ทำแบบพระวัดระฆัง แต่มีสีขาว สีเหลือง สีเขียว สีดำ สีแดง สีฟ้าอ่อน เป็นชุด ๆ ไป พระสีเบญจรงค์มีจำนวนมากที่สุด แต่ละองค์ก็มีสีที่แตกต่างกัน ถ้าช่างพิมพ์พระเป็นคนเดียวกัน ก็ได้พระออกมาสีใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกันสักองค์ แต่ละองค์มีความสวยงามที่แตกต่างกัน เมื่อนำมานั่งส่องนั่งดูก็เพลิดเพลินเจริญใจมิใช่น้อย สามารถสร้างจินตนาการได้หลากหลาย คุณตาประถม อาจสาคร ได้บรรยายภาพพระแต่ละองค์ของท่านไว้เข้าที แต่ผมไม่ได้จำ และไม่มีตำราพระสมเด็จปัญจสิริของท่านในมือในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑ นั้น พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงได้ถูกนิมนต์มาร่วมพิธีที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ก็ได้มาร่วมในงานครั้งนี้ด้วยในพิธีมหาพุทธาภิเษกพระสมเด็จครั้ง นั้น กรมพระยาปวเรศย์วริยาลงกรณ์(พระยศสมัยหลัง) ได้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สวดชยันโตและเบิกพระเนตร องค์ปลุกเสกมีสมเด็จพระพุฒาจารย์โต หลวงพ่อเงิน บางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี ฯ ลฯ จะมีใครบ้างผู้เขียนไม่ทราบทั้งหมด งานมหาพุทธาภิเษกพระสมเด็จทำที่วัดบวรสถานสุทธาวาส มีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นประธาน ทำพิธียิ่งใหญ่เป็นพิธีหลวง ดังนั้นพระชุดนี้จึงเป็นพระหลวง ทำพิธีถูกต้องทุกอย่าง พระคณาจารย์สุดยอดของประเทศในสมัยนั้นมาร่วมปลุกเสก จึงทำให้พระชุดนี้มีพลังอิทธิคุณล้ำเลิศ จะหาพระชุดไหนเสมอมิได้เมื่อเสร็จแล้วก็แจกจ่ายแก่พระบรมวงศา นุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ส่วนประชาชนทั่วไปจะได้รับหรือไม่มิปรากฏหลักฐาน เพราะผู้ที่ครอบครองพระชุดนี้ได้ปรากฏในสมัยต่อมามักเป็นเจ้านายระดับสูง ต่อมาทางลูกหลานของท่านก็นำมามอบให้ผู้ที่ตนรู้จักและนับถือ ซึ่งเล็ดลอดออกมาไม่มากนัก จึงหาคนรู้จักพระชุดนี้ได้น้อย เมื่อปรากฏขึ้นก็กลายเป็นพระเหนือตาเซียน คือเซียนไม่เคยพบเห็นมาก่อนจึงปฏิเสธว่าเป็นพระนอกพิมพ์ พระทำขึ้นทีหลังพระที่เหลือจากการแจกจ่ายวันนั้นได้นำ บรรจุในกรุเจดีย์ทอง ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งผู้เขียนสันนิษฐานว่าน่าจะบรรจุช่วงบูรณะวัดพระแก้ว และพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓-๒๔ เพื่อฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ.๒๔๒๕ การบูรณะคราวนั้นได้มีการชะลอโยกย้ายพระเจดีย์ด้วย จึงน่าจะมีการบรรจุลงกรุคราวนั้น ก่อนหน้านั้นจะเก็บพระไว้ที่ไหนมิได้ระบุไว้ในเกร็ดประวัติศาสตร์ พระอีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บนเพดานโบสถ์วัดบวรสุทธาวาส (พิพิธพัณฑสถานปัจจุบัน) และใต้ฐานพระ ซึ่งกรุนี้แตกเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๒๔ เช่นกัน แต่มีพระออกมาไม่มากนัก
ทั้งสององค์ คือพระยุคปลาย มีลักษณะเนื้อแก่ปูน ลงรักปิดทองดูแล้วมีมนต์ขลัง ความสวยงามตามพิมพ์นิยม เก่าถึงยุค เอกลักษณ์ที่มีเพียงองค์เดียวในโลก ทั้งสององค์ผมเองได้มาจากมือผู้ที่หวงแหนเป็นยิ่งนักคิดว่าเป็นบุญที่ได้เป็นเจ้าของสมบัติตัวจริง และไม่สามารถประเมินค่าได้ เพราะมีความศักดิ์สิทในองค์พระเป็นอย่างยิ่ง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง